ระบบการเกษียณอายุในต่างประเทศ

กระนั้นนี่เป็นเพียงตัวอย่างของ 3 ประเทศ

การเกษียณอายุหากแปลความหมายให้เข้าใจกันง่าย ๆ นั่นคือเมื่อถึงวัยอายุหนึ่งที่ถูกกำหนดไว้ว่าประสิทธิภาพในการทำงานจะลดลงหรืออายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ควรต้องหยุดพักผ่อนและไม่ต้องทำงานอีกต่อไป ซึ่งการเกษียณอายุเรามักคุ้นเคยกันในเมืองไทยว่ามีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทว่าในต่างประเทศเขาก็มีระบบเกษียณอายุเหมือนบ้านเราเช่นกัน หลายคนคงสงสัยว่าแล้วระบบของพวกเขาต่างกับบ้านเราหรือไม่ มีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง ลองมาไล่เรียงไปพร้อม ๆ กัน

ระบบการเกษียณอายุของคนในต่างประเทศ

ก่อนอื่นต้องขอยกตัวอย่างประเทศระดับโลกมาให้เห็นภาพเกี่ยวกับเรื่องการเกษียณอายุกันก่อนเพื่อให้เข้าใจในเรื่องราวตรงนี้เยอะขึ้นกว่าเดิม

  • เยอรมัน เป็นประเทศแรกที่เริ่มมีการเกษียณอายุมาตั้งแต่ปี 2420 โดยตอนนั้นคนที่จะเกษียณอายุได้ต้องมีอายุ 65 ปี ทว่าปัจจุบันพวกเขาได้เพิ่มอายุเป็น 67 ปี แล้ว
  • อังกฤษ เริ่มมีการกำหนดระบบเกษียณอายุขึ้นมาเมื่อปี 2443 โดยช่วงอายุที่สามารถเกษียณได้คือระหว่าง 60 – 65 ปี ทว่าเมื่อปี 2554 ทางรัฐบาลอังกฤษได้ออกประกาศยกเลิกอายุการเกษียณเรียบร้อยแล้ว
  • สหรัฐฯ เริ่มต้นการกำหนดอายุเกษียณเมื่อปี 2463 ให้กับหน่วยงานภาครัฐ พอปี 2520 ได้เกิดกฎหมายว่าด้วยการกีดกันทางด้านอายุและการจ้างงาน ทำให้เกิดการยกเลิกการบังคับเกษียณอายุที่หน่วยงานกลางของประเทศพร้อมกันนี้ยังมีการบังคับเอกชนไม่ให้บังคับการเกษียณอายุก่อนวัย 69 ปี กระทั่งปี 2529 ได้กำหนดให้ทุกองค์กรเลิกการกำหนดอายุเกษียณต่อมาก็มีการกำหนดอายุสำหรับแรกรับสวัสดิการแบบเต็มรูปแบบ

กระนั้นนี่เป็นเพียงตัวอย่างของ 3 ประเทศในเรื่องระบบเกษียณอายุเท่านั้นเพราะแต่ละประเทศทั่วโลกก็มีการกำหนดต่างกันออกไป ทว่าในสิ่งที่ทำให้ประเทศพัฒนาแล้วหลาย ๆ ประเทศไม่เกิดปัญหาผู้สูงอายุในสังคมเนื่องจากพวกเขามีการรณรงค์รวมถึงมีการออกนโยบายเกี่ยวกับเรื่องการออมเงินพร้อมหารายได้พิเศษเพิ่มเติมให้กับผู้สูงอายุเพื่อเป็นการรักษาระบบมาตรฐานในเรื่องค่าครองชีพเพราะลำพังจะใช้แค่เรื่องของเบี้ยบำเหน็จบำนาญเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถทำให้ได้ทั้งหมด นับวันผู้สูงอายุก็มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ยกเว้นบางประเทศที่มีระบบเบี้ยบำนาญผู้สูงอายุสูง ๆ เช่น เนเธอร์แลนด์, เดนมาร์ก, สวิตเซอร์แลนด์, นอร์เวย์, ญี่ปุ่น, ออสเตรีย

ต้องยอมรับว่าหลาย ๆ ประเทศที่พัฒนาแล้วพวกเขามีรูปแบบของการเกษียณอายุพร้อมทั้งการเตรียมตัวของผู้เกษียณอายุอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ๆ ดังนั้นหากประเทศไทยของเราต้องการทำให้ได้แบบเขาส่วนหนึ่งต้องเริ่มจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนใกล้วัยเกษียณให้เริ่มรู้จักการเก็บออมเพื่อเวลาเกษียณจริง ๆ จะได้ไม่เป็นการเพิ่มภาระให้กับคนอื่น ๆ จนกลายเป็นปัญหา

Comments

  1. คือบางท่านอาจจะไม่เข้าใจนะครับว่าการที่เราเกษียณอายุนั้นมีดีสำหรับบางประเทศครับ ยกตัวอย่างประเทศฝั่งยุโรปอย่าง เว็บบาคาร่าออนไลน์ คนแก่ที่เกษียณอายุไปแล้วจะมีเงินเดือนกิน ซึ่งแตกต่างกันประเทศไทยที่ไม่มีเงินเดือน มีเพียงแค่เดือนละ 600-700 บาทเท่านั้น

Comments are closed.